วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โครงการพระราชดำริเกี่ยวกับดิน

      

     ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่เลี้ยงชีพโดยอาศัยความอุดมสมบูรณ์ของดินมาช้านาน แผ่นดินจึงเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศอย่างแท้จริง ด้วยพระปรีชาญาณอันยิ่งใหญ่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความเสื่อมโทรมของดิน อันเกิดจากสาเหตุทางธรรมชาติ เช่น บางแห่งเป็นดินเปรี้ยว ดินด่าง ดินเค็ม และบางแห่งก็ไม่มีดินเลย ซึ่งทรงเรียกดินเหล่านี้ว่า "ดินแร้นแค้นนอกจากนี้ ความเสื่อมโทรมของดินยังเกิดจากการกระทำอันรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของประชาชน เช่น การตัดไม้ทำลายป่า และการใช้พื้นที่โดยขาดการอนุรักษ์ จึงพระราชทานแนวพระราชดำริในการป้องกัน แก้ไข และพัฒนาทรัพยากรดินเป็นอเนกประการ ซึ่งล้วนแต่นำประโยชน์สุขมาสู่เกษตรกรทั่วประเทศ

:: ตัวอย่างโครงการ ::

  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี
  • โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่
  • โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำแม่อาว จังหวัดลำพูน
  • โครงการศึกษาฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม จังหวัดราชบุรี
  • โครงการทดลองแก้ปัญหาดินเปรี้ยว จังหวัดนครนายก
  • โครงการหญ้าแฝก
  • โครงการแกล้งดิน
  •           ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา
              โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ที่หมู่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12, 13,14 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม หมู่ที่ 5,7,8,13,15 ตำบลเกาะขนุน อำเภอพนมสารคาม ขอบเขตพื้นที่โครงการจำนวน 1,895 ไร่ และมีพื้นที่ขยายผล 153,383 ไร่
              อยู่ระหว่างพิกัด N : 1519827-1522807 E : 770380 - 772254 WGS84 L7018 ระวางแผนที่ 5236 I , II 5336 III , IV

               เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พุทธศักราช 2522 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดศาลบวรราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ราษฎรได้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดิน หมู่ที่ 2 ตำบลเขาหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 264 ไร่ พระองค์ได้เสด็จฯ ทอดพระเนตรที่ดินดังกล่าว และทรงมีพระราชดำริ กับเจ้าหน้าที่อำเภอ จังหวัด และหน่วยราชการต่าง ๆ ได้แก่ กรมพัฒนาที่ดิน กรมชลประทาน กรมป่าไม้ กรมปศุสัตว์ ให้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่แห่งนี้จัดทำเป็นศูนย์ศึกษาตัวอย่าง สาธิตการพัฒนาด้านการเกษตรกรรมและงานศิลปาชีพ เพื่อเป็นแหล่งให้เกษตรกรตลอดจนผู้สนใจได้เข้าชมศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมได้ จากพระราชดำริข้างต้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมทั้งภาคเอกชนได้ประชุมปรึกษาหารือกัน มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดินเป็นหน่วยงานหลัก ดังนั้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารงานขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการบริหารและกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา" คณะกรรมการบริหารฯ ได้ทำหนังสือในนามของ กรมพัฒนาที่ดิน กส. 1801/1094 ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงสำนักราชเลขาธิการ เพื่อนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาขอรับพระราชทานชื่อของศูนย์เพื่อเป็นสิริมงคลแก่การดำเนินโครงการสนองพระราชดำริสืบไป และทางสำนักราชเลขาธิการได้แจ้งให้ทราบตามหนังสือ ที่ รล.002/3041 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2523 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ชื่อว่า "ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา"
              
    1.
    เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรในบริเวณลุ่มน้ำห้วยเจ็กและห้วยน้ำโจน ซึ่งอยู่ในเขตตำบลเขาหินซ้อนและตำบลเกาะขนุน มีพื้นที่ปริมาณ 56,000 ไร่ มีรายได้พอเพียงต่อการยังชีพ คือ ประมาณ 20,000 บาทต่อครอบครัวต่อปี และจะใช้พื้นที่เป็นพื้นที่พัฒนาตัวอย่าง เพื่อให้ศึกษาแนวทางการพัฒนาท้องที่อื่นๆต่อไป
    2.
    เพื่อเป็นแหล่งศึกษาทางวิชาการ ในการหาลู่ทางพัฒนาการเกษตร และอาชีพของเกษตรกรในภาคตะวันออกโดยเฉพาะในจังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดปราจีนบุรี
    3.
    เพื่อเป็นแหล่งฝึกอบรม ให้ความรู้ทางวิชาการด้านการเกษตรและด้านศิลปาชีพพิเศษแก่เกษตรกร
    1.
    จัดทำการเกษตรทฤษฎีใหม่และการเกษตรผสมผสาน
    2.
    จัดทำพื้นที่นำร่องการปลูกพืชสมุนไพร
    3.
    สาธิตและส่งเสริมการเพิ่มศักยภาพของที่ดินเพื่อปลูกมันสำปะหลัง
    4.
    สาธิตและผลิตกล้าหญ้าแฝกเพื่อปลูกและเพื่อแจกจ่าย
    5.
    จัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
    6.
    ขุดลอกลำห้วยธรรมชาติ
    7.
    จัดทำทางลำเลียงในไร่นา บ่อน้ำประจำไร่นา อาคารชะลอน้ำล้นท่อลอดระบายน้ำ ซ่อมแซมทางลำเลียงในไร่นา
    8.
    ปรับรูปแบบแปลงนา ปรับปรุงพื้นฟูพื้นที่บ่อทรายร้าง
    9.
    อบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตร การทำบัญชีฟาร์ม และอบรมการทำขนมจากแป้งฟลาวมันสำปะหลัง
    การเกษตรทฤษฎีใหม่
    การจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
    ปรับรูปแบบแปลงนา
    ขุดลอกลำห้วยธรรมชาติ
    บ่อน้ำประจำไร่นา
    อาคารชะลอน้ำ
              โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
              ตั้งอยู่ที่ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี บริเวณศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนา กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ตั้งอยู่ระหว่างค่าพิกัด X = 596000 – 601000 และระหว่างค่าพิกัด Y = 1400000 - 1407000 ในระบบ WGS84 บนแผนที่ประเทศไทย ลำดับชุดที่ L7018 ระวางแผนที่ 4934 II มีพื้นที่ทั้งหมดของโครงการ 22,627 ไร่

              ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี อันเป็นพื้นที่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้เป็นที่หลวงเมื่อปี 2466 และ ปี 2467 เดิมพื้นที่แห่งนี้มี สภาพป่าไม้เป็นที่อุดมสมบูรณ์มีสัตว์ป่าประเภทเนื้อทรายอยู่เป็นจำนวนมาก จึงได้ชื่อว่า “ ห้วยทราย ” ต่อมาราษฎรได้เข้ามาอาศัยทำกินบุกรุกแผ้วถางป่า และได้ประกอบอาชีพตามยถากรรม ภายในเวลาไม่ถึง 40 ปี ป่าไม้ได้ถูกทำลายโดยสิ้นเชิง ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล และมีปริมาณลดน้อยลงจนมีลักษณะเป็นพื้นที่อับฝน ดินขาดการบำรุงรักษาจนเกิดความไม่สมดุลย์ทางธรรมชาติ การพังทลายของผิวดินค่อนข้างสูง ประกอบกับราษฎรส่วนใหญ่ปลูกสับปะรดซึ่งต้องใช้สารเคมีมาก ทำให้คุณภาพของดินตกต่ำลงไปอีก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสว่า “ หากปล่อยทิ้งไว้จะกลายเป็นทะเลทรายในที่สุด ” เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2526 ได้พระราชทานพระราชดำริกับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ องคมนตรี และนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริให้พัฒนาเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาด้านป่าไม้เอนกประสงค์ จัดให้ราษฎรที่ทำกินอยู่เดิมมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาป่าไม้ ได้ประโยชน์และไม่ทำลายป่าไม้อีกต่อไป มุ่งที่จะศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรควบคู่ไปกับการปลูกป่า จัดหาแหล่งน้ำ ศึกษาวิธีการและระบบป้องกันไฟไหม้ป่าใน “ ระบบป่าเปียก ” ให้ราษฎรสร้างรายได้จากผลิตผลป่าไม้และปลูกพืชชนิดต่างๆ ควบคู่ไปด้วย และให้ราษฎรที่เข้ามาทำกินโดยมิชอบได้เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อที่จะได้รับพระราชทานที่ดินทำกินต่อไป
    1.
    เพื่อสาธิตวิธีการปรับปรุงบำรุงดินด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ การใช้ปูนมาร์ล โดโลไมท์ เป็นต้น
    2.
    เพื่อศึกษาแนวทางในการเพิ่มผลผลิตพืชด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ สารป้องกันกำจัดแมลงจากพืชสมุนไพร เป็นต้น
    3.
    เพื่อเผยแพร่วิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำในรูปแบบต่างๆ เช่น การสร้างคันดินเบนน้ำ คันดินกักเก็บน้ำ หรือบ่อดักตะกอนดิน และคันดินกั้นน้ำ เป็นต้น
    4.
    เพื่อเผยแพร่วิธีการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในรูปแบบต่างๆ เช่น การปลูกหญ้าแฝกในร่องน้ำ ขวางความลาดเทของพื้นที่ แบบวงกลม ครึ่งวงกลมรอบโคนต้นไม้ เป็นต้น
    5.
    เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดินตามแนวพระราชดำริ ให้กับเกษตรกร ประชาชน นิสิต นักศึกษา ตลอดจนนักวิชาการที่มีความสนใจ
    1.
    กิจกรรมงานจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ
    2.
    กิจกรรมงานสาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด
    3.
    กิจกรรมงานสาธิตการทำและการใช้ปุ๋ยหมักและปุ๋ยอินทรีย์น้ำ
    4.
    กิจกรรมงานส่งเสริมและรณรงค์การใช้ประโยชน์หญ้าแฝก
    สร้างบ่อดักตะกอน
    สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด
    สาธิตการทำและการใช้ประโยชน์ปุ๋ยหมัก
    ปลูกหญ้าแฝกบริเวณคันดินเก็บกักน้ำ
    กลับหน้าหลัก